วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

อิเหนา ม.3/2

อิเหนา....



     อิเหนา เป็นวรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวใน พระบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๐๑) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑล และเจ้าฟ้ากุ้ง


อิเหนาเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย









เรื่องอิเหนาแบ่งเป็นตอน ๆ รวม ๑๗   ตอน คือ

                ตอนที่ ๑ กล่าวถึงเมืองหมันหยา มีธงไชยผุดขึ้น ๔ ทิศทางให้เกิดข้าวยากหมากแพงกษัตริย์วงศ์เทวัญทั้ง ๔ องค์ คือ กุเรปัน ดาหา และสิงหัดส่าหรี มาอาสาถอนธงไชยนั้นได้ ท้าวหมันหยาจึงยกธิดาทั้ง ๔ ให้และแบ่งเมืองให้ครอบครอง จากนั้นเป็นประวัติของอิเหนา จินตะหรา   บุษบาและสียะตรา อิเหนาโอรสของท้าวกุเรปันได้หมั้นหมายกับบุษบาธิดาของท้าวดาหา แต่ทั้งสององค์ไม่เคยพบกันเลย

                ตอนที่ ๒ อิเหนาไปช่วยงานพระศพพระอัยกีที่เมืองหมันหยา ได้พบจินตะหราและรักใคร่ชอบพอกัน เมื่อท้าวกุเรปันขอให้ท้าวดาหาเตรียมการอภิเษกอิเหนากับบุษบา อิเหนาไม่เคยพบบุษบาจึงทำอุบายไปเที่ยวป่าเพื่อหนีพิธีสยุมพร

                ตอนที่ ๓   อิเหนากลับมาจากหมันหยา วิยะดาประสูติ ท้าวดาหาของหมั้นวิยะดาให้สียะตราน้องบุษบา ท้าวกุเรปันของให้ท้าวดาหาเตรียมการอภิเษกอิเหนากับบุษบา อิเหนาไม่เคยพบบุษบาจึงทำอุบายไปเที่ยวป่าเพื่อหนีพิธีสยุมพร

                ตอนที่ ๔ อิเหนาปลอมตัวเป็นชาวป่าชื่อมิสาระปันหยี และได้รบชนะท้าวปักมาหงันกับ    ๒ พี่น้อง ได้นางมาหยารัศมีและสการะวาตีเป็นบรรณาการ ได้สังคามาระตาเป็นน้อง

                ตอนที่ ๕ อิเหนาเข้าเมืองหมันหยา ได้จินตะหราและอยู่ด้วยกัน ท้าวกุเรปันให้คนไปตาม    ก็ไม่ยอมกลับ และอิเหนายังออกปากอนุญาตให้บุษบาเลือกชายอื่นอภิเษกได้ ท้าวดาหาจึงประกาศบุษบาให้ใครก็ได้ที่มาสู่ขอ

                ตอนที่ ๖    กล่าวถึงระตูจรการูปชั่วตัวดำ    แต่ต้องการมีมเหสีที่รูปงาม  จึงให้ช่างไปวาดรูป     หญิงสาวตามเมืองต่าง ๆ มาให้เลือก ช่างไปวาดรูปบุษบาได้ ๒ รูป ระหว่างทางองค์ปะตาระกาหลาได้บันดาลให้รูปหายรูปหนึ่ง จรกาเห็นรูปบุษบาก็หลงรักและให้ท้าวล่าสำผู้เชษฐาไปสู่ขอ ท้าวดาหาก็ประทานบุษบาให้จรกา

                ตอนที่ ๗   วิหยาสะกำ   โอรสของท้าวกะหมังกุหนิงได้รูปบุษบาที่ช่างวาดของจรกาทำหาย ก็เพ้อถึงบุษบารบเร้าให้บิดาไปสู่ขอ ท้าวดาหาปฏิเสธ ท้าวกะหมังกุหนิงจึงยกทัพมาตีดาหา กษัตริย์วงศ์เทวาทั้งสามเมืองยกทัพมาช่วยป้องกันเมืองดาหา   จรกายกทัพมาถึงเมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้ว

                ตอนที่ ๘ อิเหนาเข้าเฝ้าท้าวดาหาได้พบนางบุษบาก็หลงรักและเสียดายนาง จรกาเร่งให้ทำพิธีอภิเษก อิเหนาล้มเจ็บลงทำให้ต้องเลื่อนพิธีออกไป เมื่ออิเหนาหายป่วย ท้าวดาหาจึงเตรียมอภิเษกบุษบากับจรกา อิเหนาหาอุบายจะลักพาบุษบา

                ตอนที่ ๙   อิเหนาปลอมเป็นชาวเมืองกะหมังกุหนิง เข้าปล้นเมืองดาหาขณะที่ในเมืองกำลังมีมหรสพฉลองก่อนพิธีอภิเษก ท้าวกุเรปันและท้าวดาหาไปบัญชาดับไฟ อิเหนาแอบไปลักพาบุษบาไปไว้ในถ้ำ

                ตอนที่ ๑๐ อิเหนาเข้าเมืองมาแก้สงสัยและอาสาติดตามนางบุษบา เอาวิยะดาไปด้วย ปรากฏว่าบุษบาถูกลมหอบไปเสียแล้ว   อิเหนาจึงปลอมเป็นชาวป่าชื่อปันหยีและปลอมวิยะดาเป็นเกนหลงหนึ่งหรัด ออกติดตามบุษบาทั่วเกาะชวาก็ไม่พบจึงไปบวชเป็นอายัน (ฤาษี)

                ตอนที่ ๑๑ ฝ่ายบุษบาซึ่งถูกลมหอบไป องค์ปะตาระกาหลาแปลงตัวให้เป็นชายชื่ออุณากรรณ ได้เป็นบุตรบุญธรรมของท้าวประมอตัน วันที่อิเหนาบวชนั้นให้เร่าร้อนใจ จึงขออนุญาตบิดาบุญธรรม  

ออกท่องเที่ยวหาสตรีที่พอใจ โดยเจตนาจะตามหาอิเหนา ระหว่างการเดินทางได้เมืองขึ้นหลายเมืองและได้นางกุสุมาเป็นคู่หมั้นของสังคามาระตาเป็นมเหสี   แต่แสร้งกล่าวว่ายังร่วมกับสตรีไม่ได้ภายใน ๓ ปี เพราะบนไว้

                ตอนที่ ๑๒ อุณากรรณยกทัพเมืองประมอตันไปพบปันหยีแต่จำกันไม่ได้จึงเลยเข้าเมืองกาหลังท้าวกาหลังรับไว้เป็นโอรสบุญธรรม ปันหยีสงสัยว่าอุณากรรณคือบุษบา จึงลาผนวชติดตามเข้าเมืองกาหลังด้วย ระหว่างนั้นกาหลังเกิดศึก ปันหยีและอุณากรรณช่วยรบจนชนะ อุณากรรณเกรงปันหยีจะทราบว่าตนเป็นสตรี จึงทูลลาท้าวกาหลังออกตามหาอิเหนาต่อ

                ตอนที่ ๑๓   สังคามาระตาเชื่อว่าอุณากรรณคือบุษบา  และหลังรักนางกุสุมาคู่หมั้นของตนเอง จึงให้มหาดเล็กไปแอบดูเวลาอุณากรรณลงสรงก็ทราบว่าเป็นหญิง อุณากรรณลาปันหยีแล้วยกทัพออกจากเมือง และปลีกตัวจากกองทัพไปบวชชี (แอหนัง) พร้อมกับพี่เลี้ยง

                ตอนที่ ๑๔ สียะตราออกติดตามหาอิเหนา บุษบาและวิยะดา โดยปลอมเป็นชาวป่าชื่อ      ย่าหรัน องค์ปะตาระกาหลาแปลงเป็นนกยูงมาล่อให้ย่าหรันเข้าเมืองกาหลังไปพบปันหยีและเกนหลง สังคามาระตาเป็นใจให้ย่าหรันรักเกนหลง ปันหยีตามไปรับแต่ไม่แพ้ชนะกัน สังคามาระตาจึงขอ    กริชย่าหรันให้ปันหยีดูจึงได้รู้จักกัน

                ตอนที่ ๑๕ ระตูมะงาดาให้คนมาลักตัวปันหยีเพื่อจะได้สู่ขอนางสกาหนึ่งรัด ธิดาท้าวกาหลังไปให้อนุชาของตน แต่ลักผิดตัวได้ย่าหรันไปขังไว้ ระเด่นตะราหงันธิดาของระตูมะงาดาช่วยย่าหรันและย่าหรันได้นางเป็นชายา ปันหยีออกตามหาย่าหรันไปพบบุษบาซึ่งบวชเป็นแอหนัง เข้าใจว่านางเป็นมเหสีของอุณากรรณ

                ตอนที่ ๑๖ สังคามาระตาทำอุบายเชิดหนังเป็นเรื่องราวระหว่างอิเหนากับบุษบาตั้งแต่ต้นแอหนังบุษบาเศร้าโศกมาก พี่เลี้ยงออกมาดูคนเชิดหนังเห็นเป็นปะสันตาก็จำได้ อิเหนาจึงลักนางบุษบาไปอยู่ร่วมกันในเมืองกาหลัง ฝ่ายย่าหรันกับนางดะราหวันหนีจากเมืองมะงาดามาได้ ระตูมะงาดา ตามมารบแต่แพ้จึงยอมเป็นเมืองขึ้นต่อกาหลัง

                ตอนที่ ๑๗   ตอนสุดท้ายสังคามาระตาไปช่วยท้าวประมอตันรบกับระตูล่าสำ และได้ระเด่นกุสุมาซึ่งไปกับกองทัพของอุณากรรณนั้น สียะตราลอบส่งข่าวไปถึงท้าวกุเรปันและท้าวดาหา กษัตริย์ทั้งสองเดินทางมาเมืองกาหลัง และจัดพิธีอภิเษกสมรสระเด่นที่หมั้นกันแล้วทุกคู่ รวมทั้งเชิญจินตะหรามาร่วมพิธีด้วย



เรื่องย่อ ตอน...ศึกกระหมังกุหนิง


เมื่อเมืองขึ้นยกทัพมาถึงเมืองกะหมังกุหนิงท้าวกะหมังกุหนิงออกมต้อนรับ พระอนุชาของท้าวกะหมังกุหนิง ทั้ง ๒ พระองค์

คือ ระตูปาหยัง และระตูประหมัน ก็ยกทัพมา เมื่อทั้งสองรู้ถึงสาเหตุที่ท้าวกะหมังกุหนิงจะยกทัพไปแย่งชิงนางบุษบา

ก็ทรงห้ามปราม โดยให้เหตุผลว่า พระธิดาที่สวย ใช่จะมีแต่พระธิดาของท้าวดาหา เมืองอื่นก็มี และอีกประการหนึ่ง

เมืองดาหาเป็นเมืองใหญ่ วงศ์อสัญแดหวา มีเมืองพี่เมืองน้องที่เก่งกล้า ถ้าทำศึกกับเมืองดาหา ก็เท่ากับทำศึกกับวงศ์อสัญแดหวา ซึ่งเปรียบดังแสงอาทิตย์ ส่วนเมืองกะหมังกุหนิงเปรียบเหมือนหิ่งห้อย แต่ท้าวกะหมังกุหนิงไม่เชื่อพระอนุชา

ทั้งสอง เพราะรักลูก เกรงว่าถ้าวิหยาสะกำ จะตายเพราะตรอมใจถ้าไม่ได้นางบุษบา ซึ่งถ้าหากวิหยาสะกำตาย

ท้าวกะหมังกุหนิงก็คงต้องตายด้วย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ต้องตายเพราะลูกฝ่ายราชทูตที่ไปสู่ขอนางบุษบา ได้ส่งพระราชสารของท้าวกะหมังกุหนิงให้ท้าวดาหา เมื่อท้าวดาหาทรงทราบใจความของในพระราชสาร ก็ตอบปฏิเสธไป เนื่องจากได้ตกลงให้นางบุษบาเป็นตุนาหงันกับจรกาไปแล้ว และบรรดาข้าวของ-

เครื่องราชบรรณาการที่ท้าวกะหมังกุหนิงส่งมาก็ไม่ขอรับ ราชทูตได้แจ้งเตือนให้ท้าวดาหาทราบว่า ท้าวกะหมังกุหนิงจะยกกองทัพมาแย่งชิงนางบุษบา

เมื่อราชทูตของเมืองกะหมังกุหนิงกลับไปแล้ว ท้าวดาหาก็ให้ทหารไปแจ้งข่าวพระเชษฐา ก็คือท้าวกุเรปัน และพระอนุชา ทั้งสอง ก็คือท้าวสิงหัดส่าหรี และท้าวกาหลัง นอกจากนี้ยังแจ้งไปยังเมืองของจรกา ให้ยกทัพมาช่วยรบโดยเร็ว

เมืองกุเรปัน เมื่อรู้ข่าวศึก ก็กังวลพระทัยมาก เนื่องจากอิเหนาอยู่กับนางจินตหราที่เมืองหมันหยาจึงสั่งให้แต่งจดหมายขึ้นมา ๒ ฉบับ ส่งไปเมืองหมันหยา ให้อิเหนา ๑ ฉบับ และให้ท้าวหมันหยา ๑ ฉบับ ให้เดินทางภายใน ๑๕ คืน

แล้วก็สั่งให้กะหรัดตะปาตี (เป็นโอรสที่เกิด มะเดหวี มเหสีลำดับที่ ๒ มีศักดิ์เป็นพี่ของอิเหนา)ยกทัพไปสมทบกับทัพของอิเหนา ที่จะยกมาจากเมืองหมันหยา โดยให้ยกทัพไปคอยที่ทางร่วมจะไปเมืองดาหา

ฝ่ายเมืองกาหลัง ไม่มีพระโอรส จึงมอบหมายให้เสนาผู้ใหญ่ ตำแหน่ง ตำมะหงง กับ ดะหมัง เร่งยกทัพไปช่วย

เมืองดาหา ระหว่างทาง ตำมะหงงกับดะหมัง ได้พบกับทัพของสุหรานากง ที่มาจากเมืองสิงหัดส่าหรี จึงสมทบทัพ เดินทางมาพร้อมกัน

กล่าวฝ่ายราชทูตเมืองกะหมังกุหนิง เมื่อเดินทางกลับถึงเมืองก็ไปเฝ้าท้าวกะหมังกุหนิง แล้วทูลเล่าเรื่องที่ไปเมืองดาหา ให้ท้าวกะหมังกุหนิงฟังทุกประการ ท้าวกะหมังกุหนิงโกรธแค้นที่ท้าวดาหาไม่ยอมยกพระธิดาให้จึงสึ่งให้จัดเตรียมทัพจะยกไป

ในวันรุ่งขึ้น โดยกำหนดให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า ระตูปาหยังกับระตูประหมันเป็นทัพหลัง

ส่วนท้าวกะหมังกุหนิงเป็นจอมทัพหรือแม่ทัพทัพหลวง ได้ปรึกษาพระโหราก่อนเคลื่อนทัพ โหรทำนายว่า

“เทียบดูดวงชะตาของทรงยศ กับโอรสถึงฆาตชันษา…” หมายถึง ท้าวกะหมังกุหนิงกับ วิหยาสะกำ ชะตาขาด

“จึงทูลว่าถ้ายกวันพรุ่งนี้ จะเสียชัยไพรีเป็นแม่นมั่น” โหรบอบว่า หากยกทัพพรุ่งนี้ แพ้แน่นอน

“งดอยู่อย่าเสด็จสักเจ็ดวัน ถ้าพ้นนั้นก็เห็นไม่เป็นไร” ให้งดการศึกษาก่อน ๗ วัน แล้วค่อยมาหาฤกษ์ใหม่

ท้าวกะหมังกุหนิงพิเคราะห์ดูแล้วก็ไม่ทำตามคำของโหร เนื่องจากสั่งทหารจัดทัพ เตรียมเดินทางแล้ว เมื่อได้ตรัสไปแล้ว

ก็ต้องทำตามเกรงทหาจะดูหมิ่นได้ ประการที่สองถ้ายกทัพไปช้า เมืองต่างๆ ที่จะมาช่วยเมืองดาหา อาจเดินทางมาถึงก่อน

การทำสงครามก็จะยากกว่าเดิม และประการสุดท้ายให้เป็นเรื่องของเวรกรรม แล้วก็สั่งเดินทัพ โดยมีวิหยาสะกำเป็นทัพหน้า

เดินทางได้ ๑๐ วันก็ถึงเขตเมืองดาหา ท้าวกะหมังกุหนิงสั่งให้จัดทัพเป็นรูปนาคนาม มีภูมิประเทศมีลำธารน้ำ และมีต้นไม้ใหญ่ สั่งให้ทหารสอดแนมข่าวศึก

ท้าวดาหาพอทราบข่าวว่าข้าศึกยกมา สั่งให้ปะหรัดกะติกา(โอรสของท้าวดาหากับลิกู)เตรียมป้องกันเมือง

ไม่นานนักกองทัพของสุหรานากงที่มาจากเมืองสิงหัดส่าหรี และทัพของเมืองกาหลังที่มีตำมะหงงกับดะหมัง คุมทัพมา ก็มาถึงเมืองดาหา สุหรานากง ตำมะหงง และดะหมัง เข้าไปเฝ้าเท้าดาหา ท้าวดาหาตรัสถามถึงเมืองกุเรปันว่าส่งใครมาช่วย

สุหรานากงแจ้งว่าให้กะหรัดตะปาตียกทัพมาสบทบทัพอิเหนายกมาช่วย ท้าวดาหาไม่เชื่อเนื่องจากน้อยใจที่อิเหนาปฏิเสธการแต่งงาน จนทำให้เกิดศึก พร้อมกับสังให้สุรานากงตั้ง ฝ่ายดะหมังเมืองกุเรปันถึงหนังสือของท้าวกุเรปันไปถึงเมืองหมันหยา และนำจดหมายไปส่งให้อิเหนา อิเหนาเปิดจดหมายอ่านทันที

ในลักษณะนั้นวาปัจจามิตร มาตั้งติดดาหากรุงใหญ่

จงเร่งรีบรี้พลสกลไกร ไปช่วยชิงชัยให้ทันที

ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว แต่เขารู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่

อันองค์ท้าวดาหาธิบดี นั้นมิใช่อาหรือว่าไร

มาตรแม้นเสียเมืองดาหา จะพลอยอายขายหน้าหรือหาไม่

ซึ่งเกิดศึกสาเหตุเภทภัย ก็เพราะใครทำความไว้งามพักตร์

ครั้งหนึ่งก็ให้เสียวาจา อายชาวดาหาอาณาจักร

ครั้งนี้เร่งคิดดูจงนัก จะซ้ำให้เสียศักดิ์ก็ตามที

แม้มิยกพลไกลไปช่วย เราม้วยก็อย่ามีดูผี

อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่นี้ขาดกันจนบรรลัย

เมื่ออิเหนาอ่านสารของท้าวกุเรปันจบ ก็ครุ่นคิดว่าบุษบาจะสวยงามปานใด กษัตริย์เมืองต่างๆ จึงจะต้องมาตายเพราะแย่งชิงนาง ถ้าสวยเหมือนจินตหราก็น่าเอาชีวิตเข้าแลก จึงแจ้งแก่ดะหมังว่า อีก ๗ วันจะยกทัพไป ดะหมังจึงเชิญให้รีบยกทัพไปก่อน เพราะอาจเสียงการ
ส่วนจดหมายอีกฉบับดะหมังนำไปส่งให้ท้าวหมันหยา ใจความจดหมายของท้าวกุเรปันถึงท้าวหมันหยาดังนี้

ในลักษณ์อัษรสารา ว่าระตูหมันหยาเป็นผู้ใหญ่

มีราชธิดายาใจ แกล้งให้แต่งตัวไว้ชั่วชาย

จนลูกเราร้างคู่ตุนาหงัน ไปหลงรักผูกพันมั่นหมาย

จะให้ชิงผัวเขาเอาเด็ดดาย ช่างไม่อายไพร่ฟ้าประชาชน

บัดนี้ศึกประชิดติดดาหา กิจจาลือแจ้งทุกแห่งหน

เสียงานการวิวาห์จลาจล ต่างคนต่างข้องหมองใจ

การสงครามครั้งนี้มิไปช่วย ยังเห็นชอบด้วยหรือไฉน

จะตัดวงศ์ตัดญาติให้ขาดไป ก็ตามแต่น้ำใจจะเห็นดี


เมื่ออ่านจดหมายจบ ท้าวหมันหยาจึงบอกกับอิเหนาให้รีบยกทัพไปเมืองดาหา ให้เอาระเด่นดาหยน(เป็นโอรสของท้าวหมันหยากับมะเดหวี)คุมทัพเมืองหมันหยาไปช่วยด้วย ให้รีบยกทัพไปแต่พรุ่งนี้

อิเหนาเข้าไปลานางจินตะหรา แต่นางจินตะหราไม่เชื่อ คิดว่าอิเหนาจะหาเหตุไปหานางบุษบาที่เมืองดาหาจึงตัดพ้อต่อว่าด้วยความแค้นใจ น้อยใจ

…..แล้วว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล

ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา…


        แต่เมื่ออิเหนายืนยันหนักแน่น พร้อมทั้งนำจดหมายจากพระบิดามายืนยัน นางจินตะหราจึงยอมเชื่อและอนุญาตให้ไปอิเหนาจึงฝากให้ช่วยดูแลนางมาหยารัศมี และนางสะการะวาตี มเหสีอีกสองคนด้วย ส่วนสังคามาระตา พระอนุชาของนางมาหยารัศมี อิเหนานำไปด้วยเพราะรักและเอ็นดูเหมือนน้องชาย

        อิเหนาพร้อมระเด่นดาหยน และสังคามาระตา เดินทัพมาพบกับกะหรัดตะปาตี ซึ่งยกทัพมาคอยอยู่ก่อนแล้วจึงสบทบทัพและมั่งหน้าไปเมืองดาหา ระหว่างทางอิเหนาก็เฝ้าคิดถึงนางทั้งสาม (ดังบทท่องจำที่ท่องกันนั้น)

เมื่อเดินทางเข้าเขตกรุงดาหา อิเหนาสั่งให้ตั้งทัพเป็นรูปครุฑนาม ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขา และมีทุ่งโล่ง แล้วสั่งให้ตำมะหงง เข้าไปแจ้งข่าวกับท้าวดาหาแทน ตำมะหงงเข้าเฝ้าท้าวดาหา ท้าวดาหาตรัสช่วนให้อิเหนาเข้าไปพัก ในเมืองดาหา ตำมะหงงแจ้งว่า อิเหนามีความผิดของทำงานแก้ตัวก่อน ท้าวดาหาแจงให้สุหรานากงทราบว่าอิเหนาเดินทาง

มาถึงแล้วพร้อมกับ กะหรัดตะปาตี ตามที่สุหรานากงบอกไว้แต่แรก สุหรานากงจึงยกทัพออกจากเมืองดาหาเพื่อมาสบทบ กับทัพของอิเหนาที่นอกเมือง

        ท้าวกะหมังกุหนิง ให้ทหารไปสอดแนม ทหารสอดแนมมาแจ้งว่ามีกองทัพใหญ่ยกมา และมีทัพออกจากเมืองดาหา มาสบทบ จึงคาดว่า ทัพใหญ่ที่ยกมาเป็นทัพของจรกา ทัพที่มาสมทบเป็นทัพของเมืองดาหาจึงมิได้กลัว บัญชาให้ทหาเตรียมพร้อมจะยกเข้าประจัญวันพรุ่งนี้

        ครั้งรุ่งเช้ากษัตริย์ทั้ง ๕ ได้แก่ อิเหนา กะหรัดตะปาตี ระเด่นดาหยน สังคามาระตา และสุหรานากง ก็เตรียมพร้อมที่จะประจัญกับข้าศึก เมื่อกองหน้าปะทะกัน สังคามาระตาจึงขับม้าบุกเข้าไปแต่ผู้เดียว อิเหนาเห็นว่ายังเด็ก และไม่มีประสบการณ์จึงชวนทุกคนตามไป พบกับท้าวกะหมังกุหนิง ท้าวกะหมังกุหนิงจึงถามหาจรกา

         ครั้นอิเหนาบอกให้ทราบ ท้าวกะหมังกุหนิงก็พยายามหว่านล้อมให้อิเหนายกทัพกลับ จนอิเหนาท้าทายทำให้วิหยาสะกำ ต้องออกรับแทนท้าวกะหมังกุหนิง และสังคามาระตาจึงขออิเหนาสู้กับวิหยาสะกำ อิเหนาอนุญาตและห้ามลงจากหลังม้า ให้ใช้ทวนเอาชนะให้ได้ สังคามาระตาสังหารวิหยาสะกำด้วยทวน ท้าวกะหมังกุหนิงเห็นพระโอรสตายด้วยฝีมีของสังคามาระตาก็ขับม้าเข้าไล่ล่าสังคามาระตา แต่อิเหนาเข้าไปขัดขว้างแล้วเกิดการต่อสู้ระหว่างอิเหนากับท้าวกะหมังกุหนิง อิเหนาสังหารท้าวกะหมังกุหนิงด้วยกริช ที่องค์ประตาระกาหราประทานให้

กองทัพท้าวกะหมังกุหนิงแตก พระอนุชาทั้งสองของท้าวกะหมังกุหนิง ระตูปาหยังและระตูประหมัน เข้าเฝ้าเพื่อทูลขอเป็นเมืองขึ้น อิเหนาอนุญาตให้พระศพกลับไปทำพิธีที่บ้านเมือง แล้วเดินไปดูศพของวิหยาสะกำ

ตรัสพลางย่างเยื้องยุรยาตร องอาจดังไกรสรสีห์

สองระตูตามเสด็จจรลี ไปที่วิหยาสะกำตาย

มาเห็นศพทอดทิ้งกลิ้งอยู่ พระพินิจพิศดูแล้วใจหาย

หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย ควรจะนับว่าชายโฉมยง

ทนต์แดงดังแสงทับทิม เพริศพริ้มเพรารับกับขนง

เกศาปลายงอนงามทรง เอวองค์สารพัดไม่ขัดตา

กระนี้หรือบิดามิพิศวาส จนพินาศด้วยโอรสา

แม้ว่าระตูจรกา งามเหมือนวิหยาสะกำนี้

จะมิได้ร้อนรนด้วยปนศักดิ์ น่ารักรูปทรงส่งศรี

ตรัสแล้วลีลาขึ้นพาชี กลับไปยังที่พลับพลาพลัน


ตัวละครในเรื่องอิเหนา   


             อิเหนา    อิเหนาหรือระเด่นมนตรี มีชื่อว่า หยังหยังหนึ่งหรัดอินดราอุดากันสาหรีปาติอิเหนาเองหยังตาหลาเมาะตาริยะกัดดังสุรศรี ดาหยังอริราชไพรี เองกะนะกะหรีกุเรปัน เป็นโอรสของท้าวกุเรปันและประไหมสุหรีนิหลาอระดา อิเหนาเป็นชายรูปงาม มีสเน่ห์มีนิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและกระบี่เป็นอาวุธ อิเหนามีมเหสี ๑๐ องค์


            นางบุษบา   เป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา
       บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม
        นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย                       จินตะหรา  เป็นธิดาของระตูหมันหยากับประไหมสุหรีชื่อสุหรีจินดาส่าหรี แห่งเมืองหมันหยา รูปโฉมงดงาม มีนิสัยเจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเองแสนงอน ช่างพูดประชดประชัน บางครั้งก็ก้าวร้าวหยาบคาย จนแม้แต่อิเหนาเองยังนึกรำคาญใจ


             ท้าวกุเรปัน  เป็นกษัตริย์ครองกรุงกุเรปัน มีมเหสี ๕ องค์ ตามประเพณี มีประไหมสุหรีชื่อนิหลาอระตา    ท้าวกุเรปัน มีโอรสองค์แรกกับลิกูชื่อ กะหรัดตะปาตี และมีโอรสธิดากับประไหมสุหรีคือ อิเหนาและวิยะดา  ท้าวกุเรปันมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก ๓ องค์ ซึ่งเป็นกษัตริย์ของเมืองต่างๆ  คือ ท้าวดาหา  ท้าวกาหลัง  และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปัน ทรงหยิ่งทะนงในศักดิ์ศรีของวงอสัญแดหวา จึงไม่พอใจมาก ที่อิเหนาไปมีความสัมพันธ์กับจินตะหรา


             ท้าวดาหา   กษัตริย์ครองกรุงดาหา มีมเหสี ๕ องค์  ประไหมสุหรีชื่อ ดาหราวาตี ท้าวดาหามีโอรสธิดากับประไหมสุหรีคือบุษบาและสียะตรา ท้าวดาหาเป็นผู้มีใจยุติธรรม เพราะทรงยินยอมให้จินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวา ซึ่งใหญ่กว่าบุษบาที่เป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวา 


             ท้าวกะหมังกุหนิง    ผู้ครองเมืองกะหมังกุหนิง  มีน้อง ๒ คน  คือ ระตูปาหยัง และระตูประหมัน และมีโอรสชื่อ วิหยาสะกำซึ่งเป็นโอรสที่พระองค์ และมเหสีรักดังแก้วตาดวงใจ เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงทราบว่าวิหยาสะกำคลั่งไคล้นางบุษบาธิดาของท้าวดาหา ซึ่งสิ่งที่เห็นเป็นเพียงรูปวาดเทานั้น พระองค์ก็แต่งทูตไปขอนางทันที ครั้นถูกปฏิเสธ ท้าวกะหมังกุหนิงจึงโกรธมาก และยกทัพไปตีกรุงดาหาเพื่อแย่งนางบุษบามาให้วิหยาสะกำ แม้น้องทั้งสองจะทัดทาน แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิดโดยประกาศว่าจะยอมตายเพื่อลูก

             วิหยาสะกำ   โอรสของท้างกะหมังกุหนิง ซึ่งเกิดจาดประไหมสุหรี วิหยาสะกำมีฝีมือในการใช้ทวนเป็นอาวุธ และเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหวมาก

              สังคามาระตา  โอรสของระตูปรักมาหงัน  และเป็นน้องของมาหยารัศมี สังคามาระตาเป็นหนุ่มรูปงาม มีความเฉลียวฉลาด รอบคอบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เก่ง และกล้าหาญ ทั้งยังมีความซื่อสัตย์ และชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธ เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาและช่วยเตือนสติอิเหนาได้หลายครั้ง                   

             สุหรานากง    โอรสของท้าวสิงหัดส่าหรีที่เกิดจากประไหมสุหรี พระบิดาได้สู่ขอสะการะหนึ่งหรัด ธิดาท้าวกาหลังให้เป็นคู่ตุหนาหงันตั้งแต่เด็ก สุหรานากงปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดาและพระมารดาอยู่เสมอ มีความกล้าหาญ และวางตนได้ย่างเหมาะสม 


            ระตูหมันหยา โอรสของท้าวมังกัน พระบิดาได้ขอตุหนาหงัน ระเด่นจินดาส่าหรี ธิดาองค์สุดท้ายของระตูหมันหยาซึ่งสิ้นพระชนม์ไปแล้ว  เมื่อแต่งงานกัน พระมารดาของระเด่นจินดาส่าหรีได้อภิเษกให้ครองเมืองหมันหยา โดยให้ระเด่นจินดาส่าหรีเป็นประไหมสุหรี ระตูหมัยหยาและประไหมสุหรีจินดา มีธิดาเพียงองค์เดียว คือจินตะหราวาตี ระตูหมันหยามีจิตใจอ่อนแอ ไม่มีความเป็นนักสู้       

           ประสันตา   เป็นพี่เลี้ยงหนึ่งในสี่ของอิเหนา ซึ่งท้าวกุเรปันเลือกแต่ครั้งอิเหนาประสูติใหม่ๆ บิดาของประสันตาเป็นเสนาบดีตำแหน่งยาสา(ฝ่ายตุลาการ)  ของกุเรปัน ประสันตามีนิสัยตลก คะนอง  ปากกล้า  เจ้าอารมณ์ ชอบพูดเย้าแย่เสียดสีผู้อื่นอยู่เสมอ และยังเจ้าเล่ห์อีกด้วย    





ข้อคิดจากเรื่องอิเหนา
๑.การเอาแต่ใจตนเอง จากในวรรณคดีเรื่องอิเหนานั้น เราได้ข้อคิดเกี่ยวกับการเอาแต่ใจตนเอง อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ไม่รู้จักระงับความอยากของตน หรือพอใจในสิ่งที่ตนมีแล้ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา

๒.การใช้อารมณ์ ในชีวิตของมนุษย์ทุกคนนั้น ย่อมต้องประสบพบกับเรื่องที่ทำให้เราโมโห หรือทำให้อารมณ์ไม่ดี ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น เราควรจะต้องรู้จักควบคุมตนเอง เพราะเมื่อเวลาเราโมโห เราจะขาดสติยั้งคิด เราอาจทำอะไรตามใจตัวเองซึ่งอาจผิดพลาด

๓. การใช้กำลังในการแก้ปัญหา เวลาที่เรามีปัญหาเราควรจะใช้เหตุผลในการแก้การปัญหานั้น ซึ่งถ้าเราใช้กำลังในการแก้ปัญหา นั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมา

๔. การไม่รู้จักประมาณตนเอง เราทุกคนเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมมีในสิ่งที่แตกต่างกัน เกิดมาในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน เราก็ควรรู้จักประมาณตนเองบ้าง ใช้ชีวิตไปกับสิ่งที่คู่ควรกับตนเอง พอใจในสิ่งที่ตนมี เราควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา

๕. การทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด หรือคำนึงถึงผลที่จะตามมา การจะทำอะไรลงไป เราควรจะคิดทบทวนหรือ ชั่งใจเสียก่อนว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ ทำแล้วเกิดผลอะไรบ้าง

แหล่งความรู้อื่น











อ้างอิง 

ส่วนเนื้อหา
http://www.maerim.ac.th/present_teach/ebook/sunanta/__1.html : ที่มา
http://www.maerim.ac.th/present_teach/ebook/sunanta/_1.html : เรื่องย่อ
http://www.maerim.ac.th/present_teach/ebook/sunanta/__3.html
http://i-love-thai.exteen.com/20090902/entry-4 : ตัวละคร
http://www.maerim.ac.th/present_teach/ebook/sunanta/__6.html : ข้อคิด
ที่มาของอิเหนา